ITO Thailand Hygiene Blog
การระบุอายุการเก็บอาหารบนฉลาก
กฏหมายการแสดงฉลากในประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทย กฏหมายด้านการแสดงฉลากอาหารจะอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข โดยในการแสดงอายุของอาหารนั้น จะขึ้นอยู่กับอาหารที่แตกต่างกันดังนี้
ชนิดของอาหาร
-อาหารที่ผู้ผลิตสามารถให้ข้อมูลได้ เช่น หาบเร่แผงลอย, อาหารสดที่ไม่ผ่านกรรมวิธี (เว้นแต่ตัดแต่ง ชำแหละ ลดขนาด) บรรจุในสภาพที่เห็นอาหาร (ไม่รวมอาหารแปรรูป), และ อาหารในภาชนะบรรจุที่บริการในร้านอาหาร หรือบริการจัดส่ง ที่ไม่มีการขอเลขสารบบอาหาร ไม่ต้องแสดงฉลาก(1)
-อาหารในภาชนะบรรจุ (อาหารที่บรรจุในหีบห่อ ปิดผนึกพร้อมจำหน่าย) จะต้องมีการระบุอายุการเก็บของอาหาร ตามประกาศเฉพาะของอาหารนั้น ๆ ดังตัวอย่างในตารางที่ 1 โดยอาหารที่มีความเสี่ยงต่ออันตราย หรือในผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง (เช่น ทารก ผู้ป่วย) จะมีความเข้มงวดในการแสดงฉลากมากกว่า
ข้อความระบุอายุอาหาร
-“วันผลิต” หมายถึง วันที่ผลิตสินค้าอาหารนั้น ๆ
-“วันหมดอายุ” หมายถึง หมายถึงวันที่สิ้นสุดคุณภาพอาหาร เมื่อเก็บรักษาตามที่ระบุ ซึ่งมักเป็นปัญหาด้านความปลอดภัย เช่น การเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ การผลิตสารพิษสะสม เป็นต้น ซึ่งไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคเมื่อหมดอายุ
-“ควรบริโภคก่อน” หมายถึง วันที่สิ้นสุดช่วงเวลาที่อาหารคงคุณภาพดี เมื่อเก็บรักษาตามที่ระบุ ส่วนใหญ่อาหารกลุ่มนี้มักมีการเสื่อมเสียเชิงคุณภาพก่อน เช่น รสชาติ กลิ่นรส เนื้อสัมผัสเปลี่ยนแปลง ปริมาณวิตามิน คุณค่าโภชนาการ หรือฟังก์ชัน น้อยกว่าที่ระบุไว้ในฉลาก เป็นต้น แต่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องความปลอดภัยหรืออันตรายทันทีที่สิ้นสุดช่วงคุณภาพดีของอาหาร
เมื่อเลยวันหมดอายุหรือควรบริโภค ตามกฏหมายแล้วจะไม่สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้นได้
อายุของอาหาร (3)
สำหรับอาหารทั่วไปที่ไม่มีประกาศเฉพาะ การระบุอายุของอาหาร จะขึ้นอยู่กับอายุการเก็บของอาหารนั้น ๆ
-ในกรณีที่อาหารมีอายุการเก็บน้อยกว่า 90 วัน ให้ระบุอายุของอาหารเป็น “วัน เดือน และ ปี” ตามลำดับ โดยเดือนระบุเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้
-ในกรณีที่อาหารมีอายุการเก็บมากกว่า 90 วัน ให้ระบุอายุของอาหารเป็น “วัน เดือน และ ปี” หรือ “เดือน และ ปี” ตามลำดับ โดยเดือนระบุเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้ และมีการกำกับว่า “ควรบริโภคก่อน” หรือ “หมดอายุ” ด้วย
โดยต้องระบุ “ควรบริโภคก่อน” กำกับ หรือระบุอายุของอาหารในลักษณะวันผลิต หรือ วันหมดอายุ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
5 เกร็ดความรู้ เรื่องการแสดงฉลากอายุการเก็บอาหาร (2)
♦การระบุอายุ สามารถระบุเป็น พุทธศักราช หรือคริสต์ศักราชก็ได้ แต่ต้องสื่อสารให้ชัดเจน
♦ข้อความระบุอายุของอาหารต้องมีขนาดเท่ากันทั้งหมด
♦ถ้าบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถพิมพ์ตัวอักษร สามารถใช้การติดสติกเกอร์แทนได้
♦สินค้าที่ระบุวันหมดอายุหรือควรบริโภคก่อน จะสามารถจำหน่ายได้ถึง เที่ยงคืนของวันที่ระบุเท่านั้น
♦หากจำหน่ายสินค้าหลังวันหมดอายุ ผู้จำหน่ายจะต้องโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
การระบุอายุของอาหารในประเทศอื่น ๆ
สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่นำเข้ามาจากประเทศอื่น เมื่อนำมาจำหน่ายในประเทศจะต้องมีการระบุฉลากตามกฏหมายในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม บางครั้ง จะสังเกตได้ว่าบนบรรจุภัณฑ์อาจจะมีการระบุอายุการเก็บของอาหารตามกฏหมายประเทศต้นทางเพิ่มเติมด้วย ผู้บริโภคต้องสังเกตให้ดีว่าการระบุอายุนั้นเป็นแบบใด เช่นเดียวกับผู้ประกอบการที่ต้องการจะส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร การแสดงฉลากข้อมูลอายุการเก็บอาหาร จะต้องเป็นไปตามรูปแบบของประเทศปลายทางเช่นกัน เช่น ประเทศญี่ปุ่น จีน และ เกาหลี อาจระบุเป็นระบบ ปี เดือน วัน โดยประเทศจีนใช้การระบุวันที่ผลิต ร่วมกับบอกว่าผลิตภัณฑ์มีอายุเท่าไรนับจากวันผลิต (เช่น 2 ปี นับจากวันผลิต) ส่วนผลิตภัณฑ์ประเทศสหรัฐอเมริกานิยมใช้ระบบ เดือน วัน ปี เป็นต้น(4) ด้วยความแตกต่างเหล่านี้ ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนเมื่อต้องการส่งออกผลิตภัณฑ์
อิโตะขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนสังคมอาหารปลอดภัยในประเทศไทย เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน
คลิกที่นี่ เพื่อรู้จักเราเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
1.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ. [Online] http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER091/GENERAL/DATA0000/00000520.PDF
2.ประเด็นถามตอบประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุและฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560. [Online] http://food.fda.moph.go.th/data/news/2559/QandA(367).pdf
3.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ [Online] http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/097/24.PDF
4.Date Format in the United States. [Online] https://iso.mit.edu/americanisms/date-format-in-the-united-states/#:~:text=The%20United%20States%20is%20one,yyyy%2Dmm%2Ddd)
Related Post
-
เมทานอล vs เอทานอล ความแตกต่างที่คุณควรรู้
เรียนรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคเมทานอลและความแตกต่างระหว่างเอทานอลกับเมทานอล ค้นพบแหล่งที่มาของเมทานอลในอาหาร อาการพิษที่เกิดขึ้น และข้อควรระวังที่สำคัญเพื่อปกป้องความปลอดภัยของคุณและคนที่คุณรักจากการดื่มแอลกอฮอล์อย่างปลอดภัย
-
อัพเดทประกาศใหม่เรื่องการกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารฟังก์ชัน
หากคุณเป็นผู้ประกอบการอาหาร ที่สนใจผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง คุณต้องอ่านบทความนี้ เพื่อเรียนรู้ว่า คุณจะโฆษณาอย่างถูกต้องได้อย่างไรบ้าง
-
อัพเดทกฎหมายและมาตรฐานอาหารของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในปี 2024
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีอัพเดทกฏหมายและมาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารหลายประเด็น เราขอนำเสนอสรุปข่าวสาร เพื่อช่วยอัพเดทข้อมูลสำหรับการทำงานของเพื่อน ๆ ในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ที่มีกลุ่มเป้าหมายในการขยายตลาดไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อช่วยทำให้คุณไม่พลาดกับเทรนด์และข้อมูลใหม่ๆ ในปีนี้!
-
สารพิษจากจุลินทรีย์ที่พบได้บ่อยในอาหาร Common Microbial Toxins Found in Food
มีพิษในอาหารตัวไหนบ้างที่ได้ยินในข่าวบ่อยๆ แล้วพิษแต่ละชนิด เกิดจากจุลินทรีย์ใดบ้าง
-
ภาวะโลกเดือด ส่งผลอย่างไรกับอุตสาหกรรมอาหาร
โลกเดือดแล้ว! เมื่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลอย่างไรกับการผลิตอาหารบ้าง?
-
แหล่งที่มาของสารพิษในอาหาร Food Toxin source
อาหารไม่ปลอดภัย อาจอันตรายถึงชีวิต! ทราบหรือไม่ว่าสารพิษในอาหาร มาจากที่ใดได้บ้าง?