ITO Thailand Hygiene Blog
เนื้อเพาะเลี้ยง
คุณเคยได้ยินเรื่องเนื้อเพาะเลี้ยงไหม มันยังเป็นที่รู้จักในชื่อเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง เนื้อจากเซลล์ เนื้อจากห้องแล็บ เนื้อหลอดแก้ว เนื้อเทียม เนื้อคลีน และเนื้อไร้ฆ่า เมื่อกล่าวถึงคำเหล่านี้ เนื้อเพาะเลี้ยงถือว่าเป็นวิธีใหม่ในการผลิตผลิตภัณฑ์จากเนื้อ และได้รับความสนใจจากสาธารณะเกี่ยวกับนวัตกรรมคุณลักษณะใหม่ที่มีกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บล็อกนี้จะพูดคุยเกี่ยวกับนิยามเนื้อเพาะเลี้ยง ผลิตอย่างไร ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นทางเลือกบริโภคเนื้อที่ยั่งยืนหรือไม่
เนื้อเพาะเลี้ยงคืออะไร?
ในงานวิจัยจาก Lynch และ Pierrehumbert (2559) เนื้อเพาะเลี้ยงคือเทคโนโลยีใหม่ในการผลิตเซลล์กล้ามเนื้อของสัตว์ผ่านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และกระบวนการทั้งหมดจะทำในห้องปฏิบัติการหรือสภาวะแวดล้อมที่มีการควบคุม เซลล์ต้นกำเนิดนำมาจากสัตว์ที่มีชีวิตแล้วเพาะเลี้ยงในตัวกลาง (เช่น เซรั่มจากเลือดสัตว์) ด้วยสภาวะที่เหมาะสม เช่น สารอาหาร เกลือ และปัจจัยการเจริญเติบโต (Kateman, 2563) เซลล์เหล่านี้สามารถรวมตัวกันและก่อตัวเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนได้ถึงล้านล้านเส้น (Chriki และ Hocquette, 2563) เซลล์เหล่านี้จะมีขนาดโตขึ้นและมีปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทุกวันนี้มีประเด็นว่าเนื้อเพาะเลี้ยงใช้สัตว์น้อยกว่าในการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์หรือไม่ และเป็นเนื้อสัตว์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าวิธีการทำฟาร์มแบบเดิมหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์จากเนื้อเพาะเลี้ยงนั้นไม่ใช่อาหารวีแกน มังสวิรัติ หรือผลิตภัณฑ์จากพืช (Rogers, 2565)
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เทียบกับการทำฟาร์มแบบเดิม
คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเนื้อเพาะเลี้ยงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ามากเพราะต้องการเพียงเซลล์บางส่วนสำหรับการเพาะเลี้ยง ไม่ใช่สัตว์ทั้งตัวตามปกติ (Chriki และ Hocquette, 2563) ที่น่าสนใจคือ การวิจัยพบว่าผลิตภัณฑ์เนื้อเพาะเลี้ยงมีส่วนทำให้เกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์สูงกว่าผลิตภัณฑ์จากไก่ถึงห้าเท่า และสูงกว่าเนื้อสัตว์จากพืชถึงสิบเท่า (Newburger, 2562) เป็นผลมาจากการใช้พลังงานสูงระหว่างการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเพาะปลูกขนาดกลางและกระบวนการปลูกเนื้อสัตว์ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจภูมิอากาศ เนื้อสังเคราะห์จากถั่วเหลือง และเนื้อสังเคราะห์จากแมลงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเพราะถือว่าเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนกว่าสำหรับทดแทนเนื้อสัตว์เนื่องจากเทคโนโลยีการแปรรูปและการปลูกที่มีประสิทธิภาพสูง และผลิตภัณฑ์พลอยได้นำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า (Smetana และคณะ, 2558)
อย่างไรก็ตาม บริษัทต่าง ๆ ได้พยายามสร้างการเปลี่ยนแปลงล่าสุดเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำกัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และอนุรักษ์สัตว์ บริษัทเนื้อเพาะเลี้ยงในยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้ให้คำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน ให้เหลือน้อยที่สุด (Rogers, 2565) โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น (Newburger, 2562)
ข้อดีและข้อเสีย
มีเหตุผลหลายประการในการสนับสนุนการเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์เพราะใช้พื้นที่น้อยกว่าการเลี้ยงสัตว์ทั่วไปถึง 99% เพื่อให้ได้ปริมาณเนื้อสัตว์ที่สามารถผลิตได้เท่ากัน นอกจากนี้ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 96% จึงมีความยั่งยืนมากกว่า สุดท้ายนี้ เนื้อเพาะเลี้ยงไม่มีกระบวนการเชือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากอาหารระหว่างสัตว์กับมนุษย์ที่เกิดจากแบคทีเรียที่พบในอาหารบ่อยที่สุด เช่น เชื้อ Salmonella spp. Campylobacter spp. Shiga-toxin ที่ผลิต E. coli, Listeria spp. (Heredia และ García, 2561 The Week UK, 2561)
ในทางกลับกัน เนื้อเพาะเลี้ยงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น ‘อาหารปลอม’ ในปี 2561 ฝรั่งเศสได้ห้ามการใช้คำเกี่ยวกับเนื้อสัตว์ (เช่น ‘เบอร์เกอร์’ หรือ ‘ไส้กรอก’) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีเนื้อสัตว์จริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดคำกล่าวอ้างที่เป็นเท็จและชื่อผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เข้าใจผิด (Brook, 2561) ตามข้อบังคับนี้ ผลิตภัณฑ์อย่าง “ไส้กรอกปลอดเนื้อสัตว์” ถูกนำออกจากชั้นวาง อีกตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการกลัวอาหารปลอมคือในปี 2560 ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปได้สั่งห้ามการใช้ชื่อผลิตภัณฑ์นมสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่นม (USDA Foreign Agricultural Service, 2560; BBC News, 2560) เช่น ‘เนยเต้าหู้’ หรือ ‘ชีสผัก’ เนื่องจากคำเรียกเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคสับสน ดังนั้น การกำหนดคำเหล่านี้จึงจะมาจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนมสัตว์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์บางอย่างได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ เช่น นมอัลมอนด์ ไอศกรีม และเนยถั่ว นอกจากนี้ เนื่องจากการเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์ไม่ต้องใช้การเลี้ยงสัตว์แบบดั้งเดิม เกษตรกรอาจตกงานและระบบเศรษฐกิจอาจได้รับผลกระทบ (The Week UK, 2561)
วิถีไร้เนื้อสัตว์จะสำเร็จได้หรือไม่?
คำถามนี้ทั้งยากและท้าทายในเวลาเดียวกัน เนื่องจากเทคโนโลยีนี้ค่อนข้างใหม่และจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมจนกว่าเนื้อเพาะเลี้ยงจะวางจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า (Rogers, 2565) การเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์แบบดั้งเดิมมาเป็นเนื้อเพาะเลี้ยงต้องใช้เวลา โดยมีกฎระเบียบมากมายที่ต้องประเมินอย่างรอบคอบ มีประเด็นปัญหาที่ทำให้ความก้าวหน้าของการพัฒนาเนื้อเพาะเลี้ยงล่าช้าออกไป และความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดประการหนึ่งคือต้นทุนการผลิต ในปี 2556 เบอร์เกอร์เนื้อเพาะเลี้ยงราคา 330,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 11.7 ล้านบาท) ในการผลิต (Bandoim, 2565) และตอนนี้ราคา 9.5 ดอลลาร์ (ประมาณ 330 บาท) แต่ยังแพงกว่าเบอร์เกอร์ทั่วไปที่ขายอยู่ที่ 1-2 ดอลลาร์ในซูเปอร์มาร์เก็ตในปัจจุบัน (Kools, 2562)
เรากำลังตั้งตารอวันที่ผลิตภัณฑ์จากเนื้อเพาะเลี้ยงที่มีความยั่งยืนและราคาไม่แพงจะมีวางจำหน่ายในเชิงพาณิชย์สำหรับผู้บริโภค เพื่อปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภคด้วยวิธีที่รับผิดชอบยิ่งขึ้นในการลดผลกระทบต่อโลก และมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Bandoim, L. (2565, 8 มีนาคม). Making Meat Affordable: Progress Since The $330,000 Lab-Grown Burger. Forbes. https://www.forbes.com/sites/lanabandoim/2022/03/08/making-meat-affordable-progress-since-the-330000-lab-grown-burger/?sh=7bc5b4244667
BBC News. (2560, 14 มิถุนายน). EU court bans dairy-style names for soya and tofu. https://www.bbc.com/news/business-40274645
Brook, B. (2561, 23 เมษายน). France bans the use of meat terms like ‘burger’ and ‘sausage’ on meat-free products. News Corp Australia. https://www.news.com.au/lifestyle/food/eat/france-bans-the-use-of-meat-terms-like-burger-and-sausage-on-meatfree-products/news-story/d1b104ec6d38cc5fab520e114056ee42
Chriki, S., & Hocquette, J. F. (2563). The Myth of Cultured Meat: A Review. Frontiers in Nutrition, 7. https://doi.org/10.3389/fnut.2020.00007
Heredia, N., & García, S. (2561). Animals as sources of food-borne pathogens: A review. Animal Nutrition, 4(3), 250–255. https://doi.org/10.1016/j.aninu.2018.04.006
Kateman, B. (2563, 17 กุมภาพันธ์). Will Cultured Meat Soon Be A Common Sight In Supermarkets Across The Globe? Forbes. https://www.forbes.com/sites/briankateman/2020/02/17/will-cultured-meat-soon-be-a-common-sight-in-supermarkets-across-the-globe/?sh=4a99eb897c66
Kools, F. (2562, 11 เมษายน). What’s been going on with the ‘hamburger professor.’ Maastricht University. https://www.maastrichtuniversity.nl/news/what%E2%80%99s-been-going-%E2%80%98hamburger-professor%E2%80%99
Lynch, J., & Pierrehumbert, R. (2019). Climate Impacts of Cultured Meat and Beef Cattle. Frontiers in Sustainable Food Systems, 3. https://doi.org/10.3389/fsufs.2019.00005
Newburger, E. (2019, October 23). As the lab-grown meat industry grows, scientists debate if it could exacerbate climate change. CNBC. https://www.cnbc.com/2019/10/19/lab-grown-meat-could-exacerbate-climate-change-scientists-say.html
Rogers, K. (2022, June 6). How “lab-grown” meat could help the planet and our health. CNN. https://edition.cnn.com/2022/06/06/health/lab-grown-meat-pros-cons-life-itself-wellness-scn/index.html
Smetana, S., Mathys, A., Knoch, A., & Heinz, V. (2015). Meat alternatives: life cycle assessment of most known meat substitutes. The International Journal of Life Cycle Assessment, 20(9), 1254–1267. https://doi.org/10.1007/s11367-015-0931-6
The Week UK. (2018, August 31). The pros and cons of lab-grown meat. https://www.theweek.co.uk/96156/the-pros-and-cons-of-lab-grown-meat
USDA Foreign Agricultural Service. (2017, July 14). EU-28: European Court Prohibits Use of Dairy Names for Non-Dairy Products. https://www.fas.usda.gov/data/eu-28-european-court-prohibits-use-dairy-names-non-dairy-products#:%7E:text=On%20June%2014%2C%202017%2C%20the,clearly%20indicated%20on%20the%20label
Related Post
-
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอุตสาหกรรมอาหาร
เราสามารถนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มองไม่เห็น มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างไรบ้าง?
-
โปรตีนจากแมลงที่กินได้
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการเรียกร้องให้สร้างความตระหนักถึงการบริโภคอย่างยั่งยืน เราได้พูดคุยกันว่าอาหารจากพืช สามารถให้ประโยชน์ต่อสุขภาพได้อย่างไร และการยอมรับของผู้บริโภคต่ออาหารทดแทนเนื้อสัตว์ เนื่องจากการบริโภคเนื้อสัตว์มีส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นักวิจัยจึงได้ค้นพบแหล่งอาหารแห่งใหม่ที่มีโปรตีนสูงและยั่งยืนนั่นก็คือแมลง
-
บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ
บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพหมายถึงบรรจุภัณฑ์ใดที่จะแตกสลายและย่อยสลายตามธรรมชาติตรงตามชื่อ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับหลายองค์กร ในบล็อกที่แล้ว ได้กล่าวถึงประเด็นที่คล้ายกันคือ พลาสติกชีวภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ยังมีความแตกต่างระหว่างกันบางประการ ตัวอย่างเช่น พลาสติกชีวภาพ ทำมาจากวัตถุดิบที่มีแหล่งที่มาจากแหล่งธรรมชาติและหมุนเวียนและอาจหรือไม่อาจย่อยสลายทางชีวภาพก็ได้ ในทางตรงกันข้าม พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติผ่านสิ่งมีชีวิตไม่ว่าวัสดุจะกำเนิดมาจากแหล่งใด ในบล็อกนี้จะกล่าวถึงประวัติการพัฒนาของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ วัสดุที่ใช้บ่อย ข้อดีและข้อเสียของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ และแนวโน้มในอนาคตของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ
-
การเกษตรแบบแม่นยำ
การเกษตรแบบแม่นยำได้ปฏิวัติวิธีการจัดการการเพาะปลูกโดยการใช้ปัจจัยการผลิตให้เหมาะสมที่สุดเพื่อให้ตรงกับความต้องการที่เฉพาะเจาะจง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ระบบใหม่ แต่เทคโนโลยีล่าสุดทำให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในการผลิตได้จริง ในบล็อกนี้ เราจะพูดถึงคำจำกัดความของการเกษตรแบบแม่นยำ ข้อดีข้อเสีย และแนวโน้มในอนาคต
-
เกษตรกรรมแนวตั้ง
การเกษตรได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินที่มีอยู่เกือบทั้งหมด ทำให้การหาที่ดินบนผิวโลกทำได้ยากขึ้น ด้วยทรัพยากรที่จำกัด การตอบสนองความต้องการด้านอาหารของโลกจึงต้องมีวิธีการที่สร้างสรรค์และเชื่อถือได้มากขึ้นในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย และคำตอบคือเกษตรกรรมแนวตั้งนั่นเอง
-
บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ
หากไม่มีบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหารจะสามารถอยู่ได้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ไม่สามารถจัดการด้านโลจิสติกส์ได้ มีความยากลำบากในระบบห่วงโซ่อุปทาน การเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่จะปนเปื้อนเชื้อโรคที่มีความเสี่ยงในอาหาร ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีฟังก์ชันอีกมากมายที่บรรจุภัณฑ์มีส่วนช่วยในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่นเดียวกับบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะหลายประเภท ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ ดังนั้นในบล็อกนี้ เราจะพูดถึงการใช้ประโยชน์จากบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะในผลิตภัณฑ์อาหาร