ITO Thailand Hygiene Blog
Carbon footprint
โลกร้อน ภัยธรรมชาติ การขาดแคลนทรัพยากร เราในฐานะอุตสาหกรรมอาหารจะมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาได้อย่างไรบ้าง?
ในปัจจุบัน ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ไฟป่าที่เกิดบ่อยขึ้น น้ำท่วม การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ รวมไปถึงพฤติกรรมของพืชและสัตว์ มีสาเหตุหนึ่งมาจากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่สูงขึ้น น้ำแข็งบริเวณแถบขั้วโลกละลายมากขึ้น รวมไปถึงกระแสอุณหภูมิของลม น้ำ ความชื้น มีความเปลี่ยนแปลง ปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลก คือ ก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน และอื่น ๆ อีกหลายชนิด ที่สามารถดูดซับและปลดปล่อยรังสีความร้อนกลับสู่พื้นโลก เมื่อก๊าซเหล่านี้มีปริมาณมากขึ้น ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่ทำให้พื้นโลกอุณหภูมิสูงขึ้น และส่งผลกระทบไปยังพฤติกรรมของสภาพอากาศและสิ่งมีชีวิตบนโลกนั่นเอง
UNFCCC และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เนื่องจากเกิดภาวะปัญหาการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่ได้กล่าวมา องค์การสหประชาชาติจึงได้จัดเวทีเจรจาเพื่อเข้ามาดูแลปัญหาสภาพภูมิอากาศ ในชื่อ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) เพื่อสร้างความตกลงในประเทศสมาชิก เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบ โดยต้องการที่จะควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก โดยแสดงในรูปคาร์บอนฟุตพรินท์
คาร์บอนฟุตพรินท์คืออะไร?
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)(1) ได้ให้นิยามไว้ว่า [“คาร์บอนฟุตพริ้นท์” หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต/การประกอบชิ้นงาน การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน รวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้อง โดยคำนวณออกมาในรูปของ กรัม, กิโลกรัม หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า] นั่นหมายความว่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นการแสดงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การได้วัตถุดิบมา การผลิต การขนส่ง จนถึงการจัดการของเสีย ในปัจจุบัน ถือเป็นการแสดงจุดยืนขององค์กรและเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคด้านความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มสามารถในการแข่งขันในระดับสากล
มาตรการเกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพริ้นท์
ในปัจจุบัน ในบางประเทศ เริ่มมีมาตรการทางกฎหมาย (2) เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ในประเทศเม็กซิโก มาตรการด้านการซื้อขายในอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก กฎหมายเกี่ยวกับการใช้ระบบ MRV (Measurement reporting and verification) ในการจัดเก็บข้อมูล จัดทำรายงาน และทวนสอบปริมาณก๊าซเรือนกระจก และมาตรการเกี่ยวกับภาษีมลพิษด้วย, ในสหราชอาณาจักร มีมาตรการในการออกระบบซื้อขายใบอนุญาตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (EU ETS) โดยผู้ที่ได้รับสิทธิไม่เพียงพอจะต้องซื้อสิทธิจากตลาดคาร์บอน ทำให้เกิดธุรกิจการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นมาด้วย
บทบาทของประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้ให้ข้อตกลง ในความตกลงปารีส (Paris agreement) เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส โดยตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก 20% ภายในปี ค.ศ. 2030 (3) ซึ่งไคณะรัฐมนตรีได้บรรจุแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกไว้ในแผน 3 ระดับ ได้แก่ แผนระดับที่ 1, ยุทธศาสตร์ชาติ แผนระดับที่2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, และ ระดับ3 แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก
โดยในปัจจุบัน ได้มีการจัดทำมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก อาทิ มาตรการทดแทนปูนเม็ด, มาตรการทดแทน/ปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น และมาตรการ การจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรม ส่วนระบบซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก อยู่ในลักษณะของภาคสมัครใจโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
ในปัจจุบันเริ่มมีบริษัทเอกชนหลายบริษัทเห็นความสำคัญของความยั่งยืนและเริ่มปรับนโยบายขององค์กรในการผลิตที่คำนึงถึงความยั่งยืนและลดคาร์บอนฟุตพริ้นมากขึ้น เช่นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนมากขึ้น มีการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ต่ำลง (เช่น เปลี่ยนแหล่งของวัตถุดิบที่ขนส่งสั้นลง, ชนิดของวัตถุดิบที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง, การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เบาลง ซ้อนทับได้ดี ขนส่งได้ง่ายขึ้น หรือสามารถรีไซเคิลได้) , กระบวนการผลิตใหม่ ๆ ที่ลดการใช้พลังงาน หรือใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น, การลดปริมาณขยะ, การออกนโยบายประหยัดพลังงาน และการออกนโยบายทางการตลาด เช่น Refill station, คืนบรรจุภัณฑ์ได้ เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
1.http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/
2.สุปวีณ์ กรดเสือ. 2562. มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อน.วารสารนิติ รัฐกิจ และสังคมศาสตร์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1
3.https://climate.onep.go.th/wp-content/uploads/2021/09/NDC_Action_Plan_IPPUInd-WW_sector.pdf
Related Post
-
เมทานอล vs เอทานอล ความแตกต่างที่คุณควรรู้
เรียนรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคเมทานอลและความแตกต่างระหว่างเอทานอลกับเมทานอล ค้นพบแหล่งที่มาของเมทานอลในอาหาร อาการพิษที่เกิดขึ้น และข้อควรระวังที่สำคัญเพื่อปกป้องความปลอดภัยของคุณและคนที่คุณรักจากการดื่มแอลกอฮอล์อย่างปลอดภัย
-
อัพเดทประกาศใหม่เรื่องการกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารฟังก์ชัน
หากคุณเป็นผู้ประกอบการอาหาร ที่สนใจผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง คุณต้องอ่านบทความนี้ เพื่อเรียนรู้ว่า คุณจะโฆษณาอย่างถูกต้องได้อย่างไรบ้าง
-
อัพเดทกฎหมายและมาตรฐานอาหารของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในปี 2024
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีอัพเดทกฏหมายและมาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารหลายประเด็น เราขอนำเสนอสรุปข่าวสาร เพื่อช่วยอัพเดทข้อมูลสำหรับการทำงานของเพื่อน ๆ ในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ที่มีกลุ่มเป้าหมายในการขยายตลาดไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อช่วยทำให้คุณไม่พลาดกับเทรนด์และข้อมูลใหม่ๆ ในปีนี้!
-
สารพิษจากจุลินทรีย์ที่พบได้บ่อยในอาหาร Common Microbial Toxins Found in Food
มีพิษในอาหารตัวไหนบ้างที่ได้ยินในข่าวบ่อยๆ แล้วพิษแต่ละชนิด เกิดจากจุลินทรีย์ใดบ้าง
-
ภาวะโลกเดือด ส่งผลอย่างไรกับอุตสาหกรรมอาหาร
โลกเดือดแล้ว! เมื่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลอย่างไรกับการผลิตอาหารบ้าง?
-
แหล่งที่มาของสารพิษในอาหาร Food Toxin source
อาหารไม่ปลอดภัย อาจอันตรายถึงชีวิต! ทราบหรือไม่ว่าสารพิษในอาหาร มาจากที่ใดได้บ้าง?