ITO Thailand Hygiene Blog

Sep 04 2023

บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ

            บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพหมายถึงบรรจุภัณฑ์ใดที่จะแตกสลายและย่อยสลายตามธรรมชาติตรงตามชื่อ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับหลายองค์กร ในบล็อกที่แล้วได้กล่าวถึงประเด็นที่คล้ายกันคือ พลาสติกชีวภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ยังมีความแตกต่างระหว่างกันบางประการ ตัวอย่างเช่น       พลาสติกชีวภาพ ทำมาจากวัตถุดิบที่มีแหล่งที่มาจากแหล่งธรรมชาติและหมุนเวียนและอาจหรือไม่อาจย่อยสลายทางชีวภาพก็ได้ ในทางตรงกันข้าม พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติผ่านสิ่งมีชีวิตไม่ว่าวัสดุจะกำเนิดมาจากแหล่งใด (4) ในบล็อกนี้จะกล่าวถึงประวัติการพัฒนาของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ วัสดุที่ใช้บ่อย ข้อดีและข้อเสียของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ และแนวโน้มในอนาคตของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ

ประวัติการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ

            ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพลาสติกเป็นวัสดุที่ใช้โดยทั่วไปมากที่สุดสำหรับบรรจุภัณฑ์เมื่อพลาสติกผลิตได้ง่าย ดีบุกและอลูมิเนียมก็ดีมากสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารเพราะปกป้องสิ่งที่บรรจุอยู่ภายในได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดล้วนมีส่วนทำให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ต่อสภาพอากาศและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ จึงเริ่มมีการพัฒนาเพื่อเป็นทางเลือกโดยใช้พอลิเมอร์ชีวภาพที่มีอยู่ทั่วไปในสิ่งมีชีวิต (ตัวอย่าง เซลลูโลสและโปรตีน) พวกนี้สามารถแตกสลายได้อย่างรวดเร็วและมักได้มาจากเศษวัสดุจากพืช (3)

            ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 คาเทีย บาสทิโอลี่ (Catia Bastioli) นักเคมีชาวอิตาเลียน ได้แนะนำ Mater-Bi ซึ่งเป็นพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่สร้างขึ้นจากทรัพยากรทางการเกษตร วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อที่จะผลิตถุงพลาสติกหิ้วที่สามารถย่อยสลายเป็นปุ๋ยหมัก ทำให้สามารถใช้เป็นถุงขยะสำหรับเก็บขยะอินทรีย์ได้ Bastioli อ้างถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์ของอิตาลีที่มีคุณลักษณะโดดเด่นด้วยภูเขา แนวชายฝั่ง และพื้นที่ราบที่จำกัดว่าเป็นแรงจูงใจหนึ่งสำหรับนวัตกรรมนี้ ภายหลังการคิดค้นประดิษฐ์นี้ หน่วยงานของรัฐได้เข้าแทรกแซง โดยเมืองต่างๆ ทางตอนเหนือของอิตาลี รวมทั้งโนวาราและตูริน ได้ดำเนินการห้ามใช้ถุงพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ในปี 2011 อิตาลีกลายเป็นประเทศยุโรปประเทศแรกที่บังคับใช้การห้ามดังกล่าว  โดยออกคำสั่งให้ใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ หรือสนับสนุนให้บุคคลต่างๆ นำถุงของตนมาเอง ผลที่ตามมาคือ การใช้ถุงที่ใช้แล้วทิ้งในซูเปอร์มาร์เก็ตลดลงครึ่งหนึ่ง ในขณะที่ปริมาณขยะที่ส่งไปฝังกลบลดลงประมาณหนึ่งในห้า (5)

วัสดุที่ใช้บ่อย

            มีรายงานว่ามีการใช้วัสดุหลายชนิด รวมถึงพลาสติกชีวภาพ (Polylactic acid: PLA)  tPLA และ CPLA เส้นใยฟางข้าวสาลี กระดาษที่นำกลับมาใช้ใหม่ เส้นใยอ้อย เซลลูโลส และไม้ไผ่ (2) นอกจากนี้ ยังมีการใช้พอลิเมอร์จากผลิตภัณฑ์อาหารหลายประเภทอีกด้วย ตัวอย่างเช่น พอลิเมอร์ เช่น ไคโตซาน กลูเตนจากข้าวสาลี พลาสติกชีวภาพ เจลาติน สังกะสี และแป้งที่ทำมาจากมะม่วง สตรอว์เบอร์รี บลูเบอร์รี่ เมลอน ปลากะพง บรอกโคลี น้ำมันดอกทานตะวัน และมะเขือเทศ ถูกนำมาใช้เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ เช่น ฟิล์ม สารเคลือบผิว ภาชนะ และถุง (6)

ข้อดีและข้อเสีย

            บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพให้ประโยชน์หลายประการ รวมถึงการลดปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก การไม่มีพลาสติกที่เป็นอันตราย การกำจัดที่สะดวก ความอเนกประสงค์ในการใช้งาน และความยั่งยืน การใช้วัสดุรีไซเคิลแทนการใช้สารเคมีและพลาสติก บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมและลดการบริโภคทรัพยากร บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพยังลดปัญหาการทิ้งขยะที่เกิดจากวัสดุบรรจุภัณฑ์แบบดั้งเดิมด้วย ยิ่งกว่านั้น การกำจัดบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพที่สะดวกยังช่วยทำให้การจัดการขยะง่ายขึ้นและช่วยในการหมักทำปุ๋ย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ความอเนกประสงค์ของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพยังทำให้สามารถนำบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพมาใช้ซ้ำและนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เพิ่มเติมอีกด้วย ประการสุดท้าย บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพส่งเสริมความยั่งยืนผ่านการลด การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ (8)

            พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพมีข้อจำกัดและข้อด้อยบางประการ ตัวอย่างเช่น พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพบางประเภทไม่สามารถแตกสลายได้อย่างเต็มที่ นำไปสู่การก่อตัวของไมโครพลาสติกที่ยากต่อการทำความสะอาด นอกจากนี้ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพสามารถปล่อยสารที่เป็นอันตรายในระหว่างกระบวนการย่อยสลาย ยิ่งไปกว่านั้น การใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพสามารถเสริมสร้างแนวความคิดแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เป็นการส่งเสริมให้เกิดขยะมากเกินไปแทนที่จะใช้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนกว่า เช่น การนำกลับมาใช้ใหม่และการหมักทำปุ๋ย ประการสุดท้าย การผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพมีราคาแพงกว่าพลาสติกแบบดั้งเดิม ซึ่งทำให้เป็นสิ่งท้าทายที่จะกระตุ้นให้ผู้ผลิตพลาสติกนำทางเลือกที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้มาใช้ (4)

แนวโน้มในอนาคต

            ความต้องการบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้ทางชีวภาพเพิ่มขึ้นเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น กิจวัตรในการสั่งอาหารกลับบ้านเพิ่มขึ้น แนวโน้มของอาหารที่สะดวกต่อการพกพา และความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ถูกสุขลักษณะและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งถูกกระตุ้นโดยฉับพลันจากโรคระบาด ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงภาวะโลกร้อนและมลพิษ ผลักดันให้ผู้คนหันมาเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพเพื่อลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลและสุขภาพของมนุษย์ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและความนิยมของผู้บริโภคที่ค่อยๆ ปรากฎขึ้นจะช่วยส่งเสริมตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้ทางชีวภาพมากขึ้น การวิจัยและนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้งในภาคส่วนนี้ได้นำไปสู่วัสดุบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น เซลลูโลส ไม้ไผ่ แป้งข้าวโพด และสาหร่าย ซึ่งมีส่วนทำให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้ทางชีวภาพเพิ่มขึ้น (7)

            เป็นที่คาดว่าจะเกิดแนวโน้มบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนหลากหลายขึ้น ตัวอย่างเช่น วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ บรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำได้ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แบบน้อยชิ้น และบรรจุภัณฑ์จากพืชคาดว่าจะได้รับความนิยม แนวโน้มเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการนำแนวทางปฏิบัติด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนมาใช้เพิ่มมากขึ้นของธุรกิจต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่จะลดขยะและปรับปรุงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ด้วยการวางแนวทางให้พ้องกับแนวโน้มเหล่านี้ บริษัทต่างๆ สามารถตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในขณะที่ลดผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทที่ส่งผลต่อระบบนิเวศน์ให้น้อยลง (1)

เอกสารอ้างอิง

1.(2023). SUSTAINABLE PACKAGING TRENDS TO LOOK FOR IN 2023. Retrieved May 30, 2023, from https://felins.com/blog/sustainable-packaging-trends-look-2023

2.Good Start Packaging. (2023). Compostable Food Packaging Materials. Retrieved May 30, 2023, from https://www.goodstartpackaging.com/compostable-materials/

3.Koons, E. S. K. (2019). What is Biodegradable Packaging. Retrieved May 30, 2023, from https://www.desjardin.fr/en/blog/what-is-biodegradable-packaging

4.(2021). Biodegradable Plastic Guide: Explore the Pros, Cons, and Uses. Retrieved May 30, 2023, from https://www.masterclass.com/articles/biodegradable-plastic-guide

5.Moffett, S. (2013). From plastic litter to high-quality compost. Retrieved May 30, 2023, from https://ec.europa.eu/research-and-innovation/en/horizon-magazine/plastic-litter-high-quality-compost

6.Shaikh, S. A., Yaqoob, M., & Aggarwal, P. (2021). An overview of biodegradable packaging in food industry. Current Research in Food Science, 4, 503–520. https://doi.org/10.1016/j.crfs.2021.07.005

7.Sutaria, I. (2023). https://www.futuremarketinsights.com/reports/biodegradable-food-packaging-market. Retrieved May 30, 2023, from https://www.futuremarketinsights.com/reports/biodegradable-food-packaging-market

8.The Box Guy. (2020). 5 Benefits of Biodegradable Packaging Materials for Businesses. Retrieved May 30, 2023, from https://www.theboxguy.com/blog/benefits-biodegradable-packaging/

Related Post