ITO Thailand Hygiene Blog
อัพไซเคิล (ตอนที่ 1): วิถีใหม่เพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร
Upcycle (I): A New Frontier in Food Industry Sustainability
อัพไซเคิล (ตอนที่ 1): วิถีใหม่เพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร
หนึ่งในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน มักได้ยินเรื่องการจัดการของเสียด้วยหลักการ 3Rs คือ Reduce (การประหยัดและลดปริมาณของเสีย), Reuse (การใช้ซ้ำโดยไม่ผ่านกระบวนการ), และ Recycle (การนำของเสียไปเปลี่ยนสภาพเพื่อใช้ประโยชน์) อยู่เสมอ นับว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการลดการใช้ทรัพยาการรวมถึงการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด
อย่างไรก็ตาม ในสภาพความเป็นจริงแล้ว ถึงแม้ว่าในอุตสาหกรรมอาหารแต่ละองค์กร จะมีความพยายามที่จะปฏิบัติตามหลักการ 3Rs แต่ทว่าปัญหาเรื่องของเสียจากอุตสาหกรรมอาหาร ก็ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่มีความพยายามที่จะแก้ไขอยู่เสมอ เนื่องจากสาเหตุหลากหลายประการ เช่น เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารผลิตมาจากวัตถุดิบการเกษตร การปศุสัตว์ และการประมง ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีส่วนที่ไม่สามารถรับประทานได้ ที่ต้องผ่านกระบวนการในการแยกหรือกำจัดออก เช่น ก้างและกระดูกของสัตว์ เมล็ด แกนและเปลือกของพืช รวมถึงการตัดแต่งต่าง ๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามที่กำหนด, ปัญหาเรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจในการจัดการกับขยะหรือของเสียในกระบวนการผลิต ซึ่งบางครั้ง การรีไซเคิลกลับมีต้นทุนที่สูง ไม่คุ้มค่ากับผลิตภัณฑ์ที่ได้ หรือแม้แต่นโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหาร ทำให้มีความจำเป็นต้องกำจัดอาหารที่ไม่ถึงมาตรฐานความปลอดภัย เป็นต้น
ดังนั้นแล้ว นี่จึงเป็นที่มาของกระบวนการอัพไซเคิล ที่เข้ามาช่วยให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย
การอัพไซเคิลคืออะไร? แตกต่างจากการรีไซเคิลอย่างไร?
สำหรับการอัพไซเคิลโดยทั่วไป Cambridge dictionary ได้ให้นิยามไว้ว่า
[to make new furniture, objects, etc. out of old or used things or waste material] หรือหมายถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากวัสดุเก่า, วัสดุใช้แล้ว หรือขยะ
ส่วนการรีไซเคิล Cambridge dictionary ได้ให้นิยามไว้ว่า
[to sort and collect rubbish in order to treat it and produce useful materials that can be used again.] หรือหมายถึงการเก็บและคัดแยกขยะ เพื่อผ่านกระบวนการเป็นวัสดุเพื่อใช้ซ้ำ
จะเห็นความแตกต่างว่า การรีไซเคิลมีเป้าหมายเพื่อใช้วัสดุนั้น ๆ ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งโดยทั่วไป มักเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าไม่สูงกว่าเดิม ในขณะที่การอัพไซเคิล มุ่งเน้นให้เกิดผลิตภัณฑ์ “ใหม่ ๆ” ซึ่งในจุดนี้ ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น มักเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและมีมูลค่า
นอกจากนิยามข้างต้นแล้ว สำหรับอาหารที่ผลิตจากกระบวนการอัพไซเคิลนั้น The Upcycled Food Definition Task Force (2020) ได้ให้นิยามเฉพาะเรื่องอาหารอัพไซเคิลว่า
เป็นผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบที่ไม่ได้ถูกบริโภคโดยมนุษย์ โดยมีกระบวนการจัดหาและกระบวนการผลิตด้วยห่วงโซ่อุปทานที่ตรวจสอบได้ และให้ผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม
[Upcycled foods use ingredients that otherwise would not have gone to humanconsumption, are procured and produced using verifiable supply chains, and have a positive impact on the environment.]
โดยประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 อย่าง คือ
•วัตถุดิบทำจากส่วนที่เป็นของเสีย
•มีการเพิ่มมูลค่า
•เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มนุษย์สามารถบริโภคได้
•มีห่วงโซ่อุปทานที่มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
•มีการระบุองค์ประกอบที่ถูกอัพไซเคิลลงบนฉลาก
ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ เรื่องการอัพไซเคิลในอุตสาหกรรมอาหาร คือ แทนที่ของเสียจากวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร จะถูกรีไซเคิล โดยใช้เป็นปุ๋ย อาหารสัตว์ หมักเป็นแก๊สไบโอดีเซล หรือการเผาเพื่อสร้างพลังงาน การอัพไซเคิลจะเป็นการนำส่วนเกินเหล่านั้นมาทำประโยชน์เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น การสกัดสารฟังก์ชัน การสกัดน้ำมัน ฯลฯ ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นอาหาร จะถูกเรียกว่าอาหารอัพไซเคิล (upcycled food) ซึ่งต้องมีการระบุฉลากและกระบวนการผลิตที่ตรวจสอบได้ นอกจากนี้ ของเสียจากอุตสาหกรรมอาหาร ก็สามารถผ่านกระบวนการอัพไซเคิลเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอื่น ๆ (เช่น บรรจุภัณฑ์ เครื่องสำอางค์ วัสดุก่อสร้าง ฯลฯ ) ที่มีมูลค่ามากขึ้นและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคได้เช่นกัน
ซึ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากของเสียในอุตสาหกรรมอาหาร ต้องเป็นการบูรณาการระหว่าง ความเข้าใจในวัตถุดิบ องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงการให้ความรู้ความเข้าใจผู้บริโภค
โปรดติดตามคอนเทนท์ครั้งหน้าเกี่ยวกับตัวอย่างไอเดียในการอัพไซเคิลผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้ที่ ITO (Thailand) Hygiene blog และ Facebook: ITOHygieneThailand
เอกสารอ้างอิง
1.The Upcycled Food Definition Task Force (2020). Defining Upcycled Foods. online:https://chlpi.org/wp-content/uploads/2013/12/Upcycled-Food_Definition.pdf
Related Post
-
ข่าวสำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร: ฉบับครึ่งปีหลังของ 2024
อัปเดตข่าวเด่นในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ครึ่งปีหลัง 2024 ติดตามเหตุการณ์สำคัญ เช่น การระบาดของโรคจากอาหาร (Food Outbreak) และ การปรับปรุงกฎหมายอาหาร (Regulation Update) ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอาหารทั่งในไทยและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนจากการจัดการโรคระบาดหรือการปรับตัวของผู้ผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานใหม่ มาดูว่าปีนี้มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงบ้างในโลกของอุตสาหกรรมอาหาร
-
ข่าวสารอุตสาหกรรมอาหาร: ฉบับครึ่งปีแรก 2024
สรุปข่าวสำคัญในวงการอุตสาหกรรมอาหารช่วงครึ่งปีแรกของ 2024! มาตรฐานใหม่ ความปลอดภัยอาหาร และนโยบายสำคัญที่คุณไม่ควรพลาด อ่านต่อเพื่ออัปเดตข้อมูลสำคัญและเตรียมพร้อมสำหรับเทรนด์อนาคตในระบบอาหาร
-
เมทานอล vs เอทานอล ความแตกต่างที่คุณควรรู้
เรียนรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคเมทานอลและความแตกต่างระหว่างเอทานอลกับเมทานอล ค้นพบแหล่งที่มาของเมทานอลในอาหาร อาการพิษที่เกิดขึ้น และข้อควรระวังที่สำคัญเพื่อปกป้องความปลอดภัยของคุณและคนที่คุณรักจากการดื่มแอลกอฮอล์อย่างปลอดภัย
-
อัพเดทประกาศใหม่เรื่องการกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารฟังก์ชัน
หากคุณเป็นผู้ประกอบการอาหาร ที่สนใจผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง คุณต้องอ่านบทความนี้ เพื่อเรียนรู้ว่า คุณจะโฆษณาอย่างถูกต้องได้อย่างไรบ้าง
-
อัพเดทกฎหมายและมาตรฐานอาหารของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในปี 2024
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีอัพเดทกฏหมายและมาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารหลายประเด็น เราขอนำเสนอสรุปข่าวสาร เพื่อช่วยอัพเดทข้อมูลสำหรับการทำงานของเพื่อน ๆ ในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ที่มีกลุ่มเป้าหมายในการขยายตลาดไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อช่วยทำให้คุณไม่พลาดกับเทรนด์และข้อมูลใหม่ๆ ในปีนี้!
-
สารพิษจากจุลินทรีย์ที่พบได้บ่อยในอาหาร Common Microbial Toxins Found in Food
มีพิษในอาหารตัวไหนบ้างที่ได้ยินในข่าวบ่อยๆ แล้วพิษแต่ละชนิด เกิดจากจุลินทรีย์ใดบ้าง