ITO Thailand Hygiene Blog
อัพเดทประกาศใหม่เรื่องการกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารฟังก์ชัน
อาหารฟังก์ชันเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง (อ่านเพิ่มเติมเรื่องอาหารฟังก์ชัน) แต่เรื่องนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ ทำให้ในท้องตลาด มีการโฆษณาถึงสรรพคุณของผลิตภัณฑ์อาหารกันอย่างแพร่หลาย และอาจจะมีการกล่าวอ้างเกินจริง และในขณะดียวกัน ตลาดอาหารฟังก์ชันก็เป็นตลาดที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น มีผู้ประกอบการสนใจในการลงทุนเป็นจำนวนมาก อย. ประเทศไทย จึงสนับสนุนการพัฒนาอาหารฟังก์ชัน เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ไปพร้อม ๆ กับการคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัย และได้ประโยชน์ [1] ด้วยการออกประกาศใหม่ คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 447 พ.ศ. 2566 เรื่อง การกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารบนฉลาก [2]
ข้อมูลโดยสรุป
1.นิยามของการกล่าวอ้างทางสุขภาพ (health claims) 3 ลักษณะ คือ หน้าที่ของสารอาหาร (nutrient function claims), หน้าที่อื่น (other function claims) และการลดความเสี่ยงของโรค (reduction of disease risk claims)
2.หลักเกณฑ์และเงื่อนไข (เช่น ต้องมีคุณภาพและความปลอดภัย, ต้องมีส่วนประกอบฟังก์ชันที่มีนัยสำคัญตามเอกสารอ้างอิง, ต้องมีเอกสารเพียงพอในการอ้างอิงตามหลักวิทยาศาสตร์ และสามารถวิเคราะห์ปริมาณอาหารหรือส่วนประกอบได้)
3.เงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น ต้องอยู่ใน Thai RDIs, ต้องกล่าวอ้างด้วยข้อความตามท้ายประกาศ, หากอาหารมีปริมาณไขมัน ไขมันอิ่มตัว คลอเรสเตอรอล โซเดียมและน้ำตาลมากกว่าที่กำหนด จะต้องกำกับปริมาณสารเหล่านี้ไว้ติดกับข้อความกล่าวอ้าง ตามขนาดที่กำหนด
4.อาหารที่กล่าวอ้างหน้าที่อื่น และกล่าวอ้างการลดความเสี่ยงของโรค ต้องมีปริมาณไขมัน ไขมันอิ่มตัว คลอเรสเตอรอล โซเดียมและน้ำตาลต่ำกว่าที่กำหนด
5.การกล่าวอ้างอื่นๆ นอกเหนื่อจากปัญชีในประกาศ ต้องผ่านการประเมินตามที่กำหนด
6.การแสดงข้อความต้องเป็นไปตามเงื่อนไข เช่น ภาษาที่ใช้ ขนาดตัวอักษร การใช้คำที่ไม่ทำให้เข้าใจว่าสามารถรักษาหรือป้องกันโรค รวมไปฉลากต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงฯเกี่ยวกับฉลากอาหารนั้นๆ
บัญชีหมายเลข 1 ท้ายประกาศ ระบุสารอาหารที่สามารถกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร ทั้งหมด 27 รายการ ได้แก่ โปรตีน ใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 ไนอาซิน วิตามินบี6 กรดโฟลิก/โฟเลท ไบโอติน กรดแพนโทธินิค วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไอโอดีน แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง โพแทสเซียม แมงกานิส ซีลีเนียม โมลิบดีนัม โครเมียม และคลอไรด์ พร้อมข้อความที่อนุญาตให้ใช้
บัญชีหมายเลข 2 ท้ายประกาศ ระบุสารอาหารที่สามารถกล่าวอ้างหน้าที่อื่น ทั้งหมด 6 รายการ ได้แก่ เบต้า-กลูแคนจากข้าวโอ๊ต/ข้าวบาเลย์ ไฟโตสเตอรอล/ไฟโตสตานอล โคลีน DHA EPA อาหารที่มีโซเดียมต่ำ,ต่ำมาก,ลดโซเดียม,ปราศจากโซเดียม อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ,ลดไขมันอิ่มตัว หรือปราศจากไขมันอิ่มตัว พร้อมข้อความที่อนุญาตให้ใช้
บัญชีหมายเลข 3 ท้ายประกาศ ระบุสารอาหารที่สามารถกล่าวอ้างการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค ทั้งหมด 2 รายการ ได้แก่ อาหารที่มีโซเดียมต่ำ,ต่ำมาก,หรือปราศจากโซเดียม และอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ,หรือปราศจากไขมันอิ่มตัว พร้อมข้อความที่อนุญาตให้ใช้
บัญชีหมายเลข 4 ท้ายประกาศ เป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอพิจารณาผลการประเมินการกล่างอ้างทางสุขภาพ
ประกาศฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ซึ่งผู้ประกอบการสามารถศึกษาข้อมูลรายละเอียดได้จากประกาศฉบับเต็ม เพื่อใช้แสดงฉลาก หรือ โฆษณาผลิตภัณฑ์ของท่าน นอกจากนี้ หากมีความประสงค์จะกล่าวอ้างอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ในประกาศฯ ก็สามารถยื่นขออนุญาตเป็นรายกรณีไปค่ะ
เอกสารอ้างอิง
Related Post
-
เมทานอล vs เอทานอล ความแตกต่างที่คุณควรรู้
เรียนรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคเมทานอลและความแตกต่างระหว่างเอทานอลกับเมทานอล ค้นพบแหล่งที่มาของเมทานอลในอาหาร อาการพิษที่เกิดขึ้น และข้อควรระวังที่สำคัญเพื่อปกป้องความปลอดภัยของคุณและคนที่คุณรักจากการดื่มแอลกอฮอล์อย่างปลอดภัย
-
อัพเดทกฎหมายและมาตรฐานอาหารของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในปี 2024
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีอัพเดทกฏหมายและมาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารหลายประเด็น เราขอนำเสนอสรุปข่าวสาร เพื่อช่วยอัพเดทข้อมูลสำหรับการทำงานของเพื่อน ๆ ในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ที่มีกลุ่มเป้าหมายในการขยายตลาดไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อช่วยทำให้คุณไม่พลาดกับเทรนด์และข้อมูลใหม่ๆ ในปีนี้!
-
สารพิษจากจุลินทรีย์ที่พบได้บ่อยในอาหาร Common Microbial Toxins Found in Food
มีพิษในอาหารตัวไหนบ้างที่ได้ยินในข่าวบ่อยๆ แล้วพิษแต่ละชนิด เกิดจากจุลินทรีย์ใดบ้าง
-
ภาวะโลกเดือด ส่งผลอย่างไรกับอุตสาหกรรมอาหาร
โลกเดือดแล้ว! เมื่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเกิดมากขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลอย่างไรกับการผลิตอาหารบ้าง?
-
แหล่งที่มาของสารพิษในอาหาร Food Toxin source
อาหารไม่ปลอดภัย อาจอันตรายถึงชีวิต! ทราบหรือไม่ว่าสารพิษในอาหาร มาจากที่ใดได้บ้าง?
-
Mythbusters: ความเชื่อเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหาร จริงหรือมั่ว!? (ตอนที่ 2)
เช็คความรู้ความปลอดภัยอาหารกันหน่อย! ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาหารอีกหลายข้อที่น่าสนใจมานำเสนอ ข้อไหนใช่ ข้อไหนมั่ว!?