ITO Thailand Hygiene Blog
ความสูญเปล่า 7 แบบในอุตสาหกรรมอาหาร (ตอนที่ 2)
หลังจากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับ 3 ความสูญเปล่าแรกจาก Lean Manufacturing ในตอนที่ 1 แล้ว ตอนนี้ถึงเวลามาทำความรู้จักกับความสูญเปล่าอีก 4 แบบ ที่อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตของคุณ!
มาดูกันว่าแต่ละข้อมีผลอย่างไรในอุตสาหกรรมอาหาร และเราจะปรับปรุงได้อย่างไรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน
ในตอนที่ 1 เราได้ทำความรู้จักกับ 3 ความสูญเปล่าแรก (Transportation, Inventory, Motion) ที่ส่งผลต่อกระบวนการผลิตอาหารและวิธีการลดความสูญเปล่าเหล่านั้นไปแล้ว แต่ยังมีอีก 4 ความสูญเปล่าที่สำคัญที่เรายังไม่ได้พูดถึง
ในตอนนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสูญเปล่าเหลือทั้ง 4 แบบ ที่อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตของคุณ
•ความล่าช้าที่ไม่จำเป็น (Waiting)
◊คือการสูญเสียเวลาในจุดที่ไม่จำเป็น เช่น การรอวัตถุดิบจากกระบวนการก่อนหน้า การรอ lead time ในการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ การรอระหว่างการแก้ไขปัญหาเครื่องจักร การรอเนื่องจากกำลังการผลิตไม่เพียงพอ นอกจากจะทำให้เกิดคอขวดในการผลิต เสียทรัพยากรเวลาแล้ว ในอุตสาหกรรมอาหารยังหมายถึงความเสี่ยงเรื่องอาหารปลอดภัยอีกด้วย เนื่องจากจุลินทรีย์ยังสามารถเจริญเติบโตได้ในระหว่างกระบวนการพักคอยก่อนการฆ่าเชื้อ จึงหมายความว่า ต้องมีการเพิ่มเติมต้นทุนการเก็บรักษาวัตถุดิบอาหารให้ปลอดภัยในระหว่างการรอคอย เช่น ตู้เย็น ห้องเย็น เป็นต้น รวมไปถึงขั้นตอนการฆ่าเชื้อในบางผลิตภัณฑ์ ที่ต้องมีกระบวนการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็วหลังการให้ความร้อนเพื่อยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ ความล่าช้าในส่วนนี้จึงอาจทำให้อาหารเสียคุณภาพและความปลอดภัย
◊ตัวอย่าง: การให้ความร้อนอาหารเต็มกำลังการผลิต ทำให้ต้องพักคอยวัตถุดิบที่ผสมแล้วก่อนการให้ความร้อน เสี่ยงต่อการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์, การขาดวัตถุดิบ ติดปัญหา lead time ทำให้ไม่สามารถผลิตได้ตามแผน
◊การแก้ไข: ปรับปรุง flow ของกระบวนการทำงาน เพื่อกำจัดคอขวดที่ต้องเกิดการพักคอย อาจพิจารณาเพิ่มกำลังการผลิตในส่วนที่เป็นปัญหา ด้วยหุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติ ปรับปรุงการจัดการวางแผนการผลิต การสั่งซื้อวัสดุ การบำรุงรักษาเครื่องจักร ระบบการอนุมัติเอกสาร เป็นต้น เพื่อลดปัญหาความเสียเวลาโดยไม่จำเป็น
•กระบวนการที่ไม่จำเป็น (overprocessing)
◊คือกระบวนการที่มีความซ้ำซ้อน ไม่จำเป็น ทำให้สูญเสียทรัพยากร (เช่น คน เวลา วัสดุ) ไปอย่างเปล่าประโยชน์ โดยไม่ได้เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงอาจเพิ่มความเสี่ยงความผิดพลาดโดยไม่จำเป็น เพราะกระบวนการมีความซับซ้อนเกินไป
◊ตัวอย่าง: การใช้บรรจุภัณฑ์หลายชั้นโดยไม่จำเป็น การตรวจสอบคุณภาพที่หลายขั้นตอนจนเกินไป
◊การแก้ไข: ปรับปรุงขั้นตอนในการทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน การปรับปรุงเกณฑ์และวิธีตรวจสอบสินค้า อาจพิจารณาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการตรวจสอบ (Inspection) เช่น AI camera เครื่องอ่านอักขระ เครื่องตรวจโลหะ เครื่องชั่งแบบไดนามิค ฯลฯ การปรับปรุงแบบฟอร์มและวิธีการบันทึกข้อมูล
•การผลิตเกินจำเป็น (Overproduction)
◊คือการผลิตสินค้ามากเกินไปหรือเกินจากความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดสินค้าคงคลังที่สูงเกินไป และมีความเสี่ยงที่ผลิตภัณฑ์จะหมดอายุ
◊ตัวอย่าง: การผลิตล็อตใหญ่เกินไปล่วงหน้า และไม่สามารถจำหน่ายได้ทัน
◊การแก้ไข: ปรับปรุงการวางแผนการผลิต การคาดการณ์ตลาด ความต้องการจากลูกค้า การใช้ระบบ Just-in-Time (JIT) ในการผลิต การพิจารณาใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
•ของเสีย (Defect)
◊หมายถึงสินค้าใด ๆ ที่ไม่สามารถทำตามมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้ หรือไม่ปลอดภัยสำหรับการบริโภคหรือการใช้งาน และอาจต้องถูกแก้ไขหรือทิ้งไป ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรที่ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น เวลา วัสดุ และพลังงาน โดยไม่ได้เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด หากหลุดไปถึงลูกค้า ส่งผลต่อทั้งอันตรายในการบริโภคและความพึงพอใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์
◊ตัวอย่าง: อาหารที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อเหมาะสม ผลิตภัณฑ์ที่พิมพ์วันหมดอายุผิด อาหารปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอม
◊การแก้ไข: ตรวจสอบความพร้อมของกระบวนการผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์ ให้ความรู้ความเข้าใจกับพนักงานเพื่อลดความผิดพลาดจากมนุษย์ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีลดสิ่งปนเปื้อน เช่น แอร์ชาวเวอร์ เครื่องดูดเส้นผม เครื่องล้างรองเท้า การใช้ระบบอัตโนมัติแทนคนในจุดเสี่ยง อาจพิจารณาใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการผลิตและลดข้อผิดพลาด รวมไปถึงระบบการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เพื่อควบคุมคุณภาพ การป้องกันความผิดพลาดตั้งแต่การออกแบบเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ (เช่น บรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกันเพื่อป้องกันการบรรจุผิด) ระบบเตือนเมื่อเกิดความผิดปกติ รวมถึงการใช้ระบบอัตโนมัติในการตรวจสอบ เช่น เซนเซอร์ การใช้เทคโนโลยีแทนคนในการตรวจสอบจุดที่ละเอียดอ่อนหรือต้องการลดระยะเวลา
นอกจากความสูญเปล่า 7 แบบ ที่มาจากแนวคิดลีนโดยดั้งเดิมแล้ว ในภายหลัง เมื่อมีการเรียบเรียงใหม่ ก็มีผู้เสนอความสูญเสียแบบที่ 8 เพิ่มเติมเข้ามา เช่น Womack & Jones (2003) [1] เสนอเกี่ยวกับ สินค้าและบริการที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า (goods and services that do not meet the customer’s needs) และ โดย Skhmot (2019) เสนอเกี่ยวกับ การใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ (underutilization of people) [2]
การลดความสูญเปล่าหรือในการผลิตอาหารเป็นกุญแจสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารที่ความปลอดภัยและคุณภาพเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ หากเราสามารถจัดการกับความสูญเปล่าที่กล่าวถึงในบทความนี้ได้ ก็จะช่วยเพิ่มทั้งคุณภาพของผลิตภัณฑ์และความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างดี
หากท่านมีความต้องการปรับปรุงพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่า สามารถติดต่อเรา เพื่อพูดคุยปรึกษา และให้คำแนะนำได้ฟรี คลิกที่นี่
เอกสารอ้างอิง
1.James P. Womack and Daniel T. Jones (2003). Lean Thinking Banish Waste and Create Wealth in Your Corporation (Second Edition). New York: Free Press, Simon & Schuster, Inc.
2.Skhmot, N. (2019). The 8 wastes of Lean. The Lean Way.
Related Post
-
ความสูญเปล่า 7 แบบในอุตสาหกรรมอาหาร (ตอนที่ 1)
ทำความรู้จักกับ Lean Manufacturing และวิธีลด ความสูญเปล่า (Waste) ในกระบวนการผลิตอาหาร! รู้หรือไม่ว่าการลดความสูญเปล่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีนัยสำคัญ? ในคอนเท้นต์นี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับความสูญเปล่า 3 แบบแรกจาก Lean Manufacturing พร้อมตัวอย่างในอุตสาหกรรมอาหารที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง คลิกอ่านเลย เพื่อเรียนรู้วิธีการปรับปรุงกระบวนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจของคุณ!
-
ฝุ่นในอุตสาหกรรมอาหาร: มองให้ลึกถึงแหล่งที่มาและผลกระทบ
ฝุ่นละอองและอนุภาคขนาดเล็กส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารอย่างหลากหลาย ตั้งแต่คุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ไปจนถึงความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุระเบิดในโรงงาน ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งที่มาของฝุ่นและผลกระทบจึงมีความสำคัญ เพื่อป้องกันและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอาหาร
-
ข่าวสำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร: ฉบับครึ่งปีหลังของ 2024
อัปเดตข่าวเด่นในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ครึ่งปีหลัง 2024 ติดตามเหตุการณ์สำคัญ เช่น การระบาดของโรคจากอาหาร (Food Outbreak) และ การปรับปรุงกฎหมายอาหาร (Regulation Update) ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอาหารทั่งในไทยและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนจากการจัดการโรคระบาดหรือการปรับตัวของผู้ผลิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานใหม่ มาดูว่าปีนี้มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงบ้างในโลกของอุตสาหกรรมอาหาร
-
ข่าวสารอุตสาหกรรมอาหาร: ฉบับครึ่งปีแรก 2024
สรุปข่าวสำคัญในวงการอุตสาหกรรมอาหารช่วงครึ่งปีแรกของ 2024! มาตรฐานใหม่ ความปลอดภัยอาหาร และนโยบายสำคัญที่คุณไม่ควรพลาด อ่านต่อเพื่ออัปเดตข้อมูลสำคัญและเตรียมพร้อมสำหรับเทรนด์อนาคตในระบบอาหาร
-
เมทานอล vs เอทานอล ความแตกต่างที่คุณควรรู้
เรียนรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคเมทานอลและความแตกต่างระหว่างเอทานอลกับเมทานอล ค้นพบแหล่งที่มาของเมทานอลในอาหาร อาการพิษที่เกิดขึ้น และข้อควรระวังที่สำคัญเพื่อปกป้องความปลอดภัยของคุณและคนที่คุณรักจากการดื่มแอลกอฮอล์อย่างปลอดภัย
-
อัพเดทประกาศใหม่เรื่องการกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารฟังก์ชัน
หากคุณเป็นผู้ประกอบการอาหาร ที่สนใจผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง คุณต้องอ่านบทความนี้ เพื่อเรียนรู้ว่า คุณจะโฆษณาอย่างถูกต้องได้อย่างไรบ้าง