ITO Thailand Hygiene Blog
-
การป้องกันและลดความเสี่ยงจากอันตรายทางกายภาพ
จากเนื้อหาก่อนหน้านี้ ที่เราได้รู้จักกับอันตรายทางกายภาพที่พบเจอได้บ่อยในอุตสาหกรรมอาหาร ในครั้งนี้ เราขอแนะนำเทคนิควิธีในการลดความเสี่ยงอันตรายทางกายภาพแบ่งตามแหล่งที่มาของอันตราย
-
อันตรายทางกายภาพที่พบได้บ่อยในอาหาร
อันตรายทางกายภาพที่พบได้บ่อยในอาหาร เป็นอันตรายที่เกิดจากการรับประทานของแข็ง หรือแหลมคม หรือมีขนาดที่สามารถอุดตันทางเดินหายใจได้ ทำให้เกิดอาการ สำลัก ติดคอ เกิดแผลในระบบทางเดินอาหาร ฟันแตก หัก บิ่น ร้าว เหงือกอักเสบ เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้บริโภค
-
ความยั่งยืนด้านอาหาร
ปัจจุบันนี้ความยั่งยืนด้านอาหารถือเป็นประเด็นสำคัญสำหรับคนรุ่นปัจจุบันและรุ่นหลัง ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ วิธีแปรรูป วิธีจัดจำหน่าย บรรจุหีบห่อ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
-
6 หัวใจหลักในการออกแบบเพื่อสุขลักษณะในการผลิตอาหาร
การออกแบบให้อุตสาหกรรมอาหาร มีสุขลักษณะที่ดี เป็นเรื่องสำคัญมาก ทั้งในแง่ของกฎหมาย มาตรฐาน การขอใบอนุญาตผลิต และความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคม ให้อยู่ในสังคมที่อาหารปลอดภัยและมีความยั่งยืน ในวันนี้ อิโตะ (ไทยแลนด์) ขอนำเสนอ 6 หัวใจหลักที่ต้องใส่ใจเรื่องสุขลักษณะ ตั้งแต่ในช่วงการออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ไปจนถึงการพัฒนาระบบเดิมที่เคยมีอยู่ให้ดีมากยิ่งขึ้น
-
โพสไบโอติกส์
ระหว่างและหลังการระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้คนได้พิจารณาวิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของตนเอง ซึ่งประกอบด้วยทางเลือกหลายทาง วิตามินซี โพรไบโอติกส์ พรีไบโอติกส์ หรือแม้แต่ซิมไบโอติกส์ได้กลายเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ต่างพูดถึง เนื่องจากมีส่วนช่วยให้ชีวิตมีสุขภาพที่ดีขึ้นและภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้น โพรไบโอติกส์คือแบคทีเรียที่มีชีวิตและยีสต์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายโดยเฉพาะระบบย่อยอาหารและพบได้ในอาหารหมักดอง เช่น โยเกิร์ต กะหล่ำปลีดอง กิมจิ มิโซะ นัตโตะ ผักดอง เป็นต้น พรีไบโอติกส์คืออาหารที่มีเส้นใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณสูง เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ผลไม้ และผัก ซึ่งทำหน้าที่เหมือนอาหารสำหรับโพรไบโอติกส์ (แบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพในร่างกายมนุษย์) และช่วยให้เจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม โพสไบโอติกส์ ผลพลอยได้หรือของเสียจากการย่อย พรีไบโอติกส์และโพรไบโอติกส์ ถือเป็นสารประกอบออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่อัดแน่นไปด้วยสารอาหารบำรุง เช่น วิตามินบี วิตามินเค กรดอะมิโน และเปปไทด์ต้านจุลชีพ ซึ่งทำให้แบคทีเรียที่เป็นอันตรายหยุดการเจริญเติบโต
-
พนักงานในจุดเล็กๆสู่ไลน์ผลิตที่ยิ่งใหญ่
พนักงานในไลน์ผลิต เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการผลิตอาหารให้มีคุณภาพและความปลอดภัยที่ดี การใส่ใจพัฒนาบุคลากรขององค์กร จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการรักษามาตรฐานของอาหารและเพิ่มความมั่นคงในระยะยาวให้องค์กรอย่างยั่งยืน
-
กัญชาถูกกฎหมายในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่ทำให้กัญชาถูกกฎหมายอย่างเป็นทางการเมื่อถอดกัญชาออกจากรายการยาเสพติด และการแก้ไขกฎหมายมีผลในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ในขณะที่รัฐบาลมีความกระตือรือร้นที่จะทำให้กัญชาถูกกฎหมายด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การรักษาพยาบาล การท่องเที่ยว ปัญหาสังคม นันทนาการ และการเมือง แต่พระราชบัญญัตินี้จุดชนวนความขัดแย้งในหมู่นักวิชาการ และภาคการดูแลสุขภาพ เนื่องจากกฎระเบียบและข้อจำกัดของการใช้กัญชายังไม่ชัดเจน และมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้กัญชาในทางที่ผิด บล็อกนี้จะกล่าวถึงการทำให้กัญชาถูกกฎหมายในประเทศไทย ความแตกต่างระหว่างกัญชาและกัญชง ประโยชน์ทางการแพทย์ ข้อเสีย และตัวอย่างผลิตภัณฑ์กัญชาในตลาด
-
ความมั่นคงทางอาหาร
ปัญหาขาดแคลนอาหารนั้นถือเป็นปัญหาใหญ่ของโลกที่มีมาเป็นเวลานาน โดยในปีพ.ศ. 2539 ณ การประชุมสุดยอดอาหารโลก (World Food Summit) ได้มีการพูดถึงปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหาร (Food security) ซึ่งหมายถึง การมี และการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการที่ตรงต่อความต้องการและความพึงพอใจด้านอาหารอย่างเท่าเทียมสำหรับทุกคน เพื่อชีวิตและสุขภาพที่ดี (FAO, 2008) และปัญหานี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤติต่างๆ เช่น ภัยพิบัติ สงคราม หรือโรคระบาด ดังนั้นในบทความนี้จะพูดถึงความมั่นคงทางอาหารใน 4 องค์ประกอบสำคัญ สถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการทั่วในระดับสากล ปัจจัยที่สำคัญ รวมถึงข้อเสนอแนะต่อการปัญหาอย่างยั่งยืน
-
ผลกระทบของโรคระบาดต่อวงการอุตสาหกรรมอาหาร
เป็นเวลามากกว่า 2 ปีแล้วที่โรคระบาดได้เริ่มการระบาดขึ้นทั่วโลก ในปัจจุบันมีผู้ป่วย และเสียชีวิตมากกว่า 6 ล้านราย (World Health Organization, n.d.-b) อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงความปลอดภัยของอาหารและบรรจุภัณฑ์ต่อการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส ผลกระทบของโรคระบาดต่ออุตสาหกรรมอาหาร วิกฤตความมั่นคงทางอาหาร และแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
-
การจัดการวัตถุดิบ (ผักและผลไม้)
ต่อเนื่องจากบทความก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงการจัดการวัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์ ในวันนี้ถึงคราวของอีกวัตถุดิบที่สำคัญนั่นคือผักและผลไม้ เราจะไปค้นหาคำตอบกันว่า การจัดการผักและผลไม้มีหลักการอย่างไรเพื่อความปลอดภัยและคุณภาพสูงสุด โดยกระบวนการนั้นเริ่มตั้งแต่ฟาร์ม สู่โรงงานแปรรูป จนถึงสินค้าพร้อมรับประทาน การป้องกันความเสี่ยงจากการปนเปื้อนต่างๆ และรวมถึงวิธีการเก็บรักษาอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาตร์อาหาร
-
ปัจจัยที่มีผลต่ออายุการเก็บของอาหาร (Part 2: ปัจจัยภายนอก/สิ่งแวดล้อม)
นอกจากปัจจัยภายในตัวอาหารเองแล้ว ยังมีปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่ออัตราการเสื่อมเสียของอาหาร หรืออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในอาหารด้วย ดังนั้น ในการระบุอายุการเก็บของอาหาร จึงต้องมีการระบุสภาวะในการเก็บด้วย เนื่องจากอาหารจะมีอายุตามที่ระบุ เมื่อเก็บในสภาวะที่กำหนดเท่านั้น หากเก็บอาหารในสภาวะอื่น ๆ อัตราการเสื่อมเสียของอาหาร อาจเกิดไวขึ้น ทำให้อาหารเสื่อมเสียก่อนเวลาที่ระบุไว้บนฉลากได้
-
ปัจจัยที่มีผลต่ออายุการเก็บของอาหาร (Part 1: ปัจจัยภายใน)
อายุการเก็บของอาหารขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง? ทำไมอาหารของฉันถึงเสียเร็วกว่าวันหมดอายุบนฉลาก?