ITO Thailand Hygiene Blog
-
6 หัวใจหลักในการออกแบบเพื่อสุขลักษณะในการผลิตอาหาร
การออกแบบให้อุตสาหกรรมอาหาร มีสุขลักษณะที่ดี เป็นเรื่องสำคัญมาก ทั้งในแง่ของกฎหมาย มาตรฐาน การขอใบอนุญาตผลิต และความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคม ให้อยู่ในสังคมที่อาหารปลอดภัยและมีความยั่งยืน ในวันนี้ อิโตะ (ไทยแลนด์) ขอนำเสนอ 6 หัวใจหลักที่ต้องใส่ใจเรื่องสุขลักษณะ ตั้งแต่ในช่วงการออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ไปจนถึงการพัฒนาระบบเดิมที่เคยมีอยู่ให้ดีมากยิ่งขึ้น
-
Gene Editing
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ นักวิจัยได้เสนอการแก้ไขยีนซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์อาหารให้ดีขึ้น และเกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ตลอดจนมีผลกระทบที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ในบล็อกนี้จะกล่าวถึงบทนำโดยย่อเกี่ยวกับการแก้ไขยีนและประโยชน์ของการแก้ไขยีน ความแตกต่างระหว่างการแก้ไขยีนกับสิ่งมีชีวิตที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม เทคนิคการแก้ไขยีน การนำอาหารที่แก้ไขด้วยเทคนิค CRISPR มาประยุกต์ใช้ และการพัฒนาเทคโนโลยีการแก้ไขยีนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
-
นวัตกรรมลดการปนเปื้อนในสายการผลิต
เป็นที่ทราบกันดีว่า สิ่งสกปรกจากภายนอกเป็นที่มาของความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหาร โดยหนึ่งในช่องทางของการปนเปื้อน คือ การที่มนุษย์เป็นพาหะในการนำฝุ่นและสิ่งสกปรกเข้าสู่ส่วนผลิตหรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้สิ่งสกปรก เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอม อาจถูกปนเปื้อนไปในอาหารและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
-
โพสไบโอติกส์
ระหว่างและหลังการระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้คนได้พิจารณาวิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของตนเอง ซึ่งประกอบด้วยทางเลือกหลายทาง วิตามินซี โพรไบโอติกส์ พรีไบโอติกส์ หรือแม้แต่ซิมไบโอติกส์ได้กลายเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ต่างพูดถึง เนื่องจากมีส่วนช่วยให้ชีวิตมีสุขภาพที่ดีขึ้นและภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้น โพรไบโอติกส์คือแบคทีเรียที่มีชีวิตและยีสต์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายโดยเฉพาะระบบย่อยอาหารและพบได้ในอาหารหมักดอง เช่น โยเกิร์ต กะหล่ำปลีดอง กิมจิ มิโซะ นัตโตะ ผักดอง เป็นต้น พรีไบโอติกส์คืออาหารที่มีเส้นใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณสูง เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ผลไม้ และผัก ซึ่งทำหน้าที่เหมือนอาหารสำหรับโพรไบโอติกส์ (แบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพในร่างกายมนุษย์) และช่วยให้เจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม โพสไบโอติกส์ ผลพลอยได้หรือของเสียจากการย่อย พรีไบโอติกส์และโพรไบโอติกส์ ถือเป็นสารประกอบออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่อัดแน่นไปด้วยสารอาหารบำรุง เช่น วิตามินบี วิตามินเค กรดอะมิโน และเปปไทด์ต้านจุลชีพ ซึ่งทำให้แบคทีเรียที่เป็นอันตรายหยุดการเจริญเติบโต
-
พนักงานในจุดเล็กๆสู่ไลน์ผลิตที่ยิ่งใหญ่
พนักงานในไลน์ผลิต เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการผลิตอาหารให้มีคุณภาพและความปลอดภัยที่ดี การใส่ใจพัฒนาบุคลากรขององค์กร จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการรักษามาตรฐานของอาหารและเพิ่มความมั่นคงในระยะยาวให้องค์กรอย่างยั่งยืน
-
กัญชาถูกกฎหมายในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่ทำให้กัญชาถูกกฎหมายอย่างเป็นทางการเมื่อถอดกัญชาออกจากรายการยาเสพติด และการแก้ไขกฎหมายมีผลในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ในขณะที่รัฐบาลมีความกระตือรือร้นที่จะทำให้กัญชาถูกกฎหมายด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การรักษาพยาบาล การท่องเที่ยว ปัญหาสังคม นันทนาการ และการเมือง แต่พระราชบัญญัตินี้จุดชนวนความขัดแย้งในหมู่นักวิชาการ และภาคการดูแลสุขภาพ เนื่องจากกฎระเบียบและข้อจำกัดของการใช้กัญชายังไม่ชัดเจน และมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้กัญชาในทางที่ผิด บล็อกนี้จะกล่าวถึงการทำให้กัญชาถูกกฎหมายในประเทศไทย ความแตกต่างระหว่างกัญชาและกัญชง ประโยชน์ทางการแพทย์ ข้อเสีย และตัวอย่างผลิตภัณฑ์กัญชาในตลาด
-
เทคโนโลยีติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ/ความปลอดภัยของอาหาร
เมื่อผลิตภัณฑ์อาหารถูกผลิตขึ้น คุณภาพ (เช่น สี กลิ่นรส เนื้อสัมผัส ความอร่อย) และความปลอดภัย (เช่น จุลินทรีย์ก่อโรค, การสร้างสารพิษ) จะเป็นตัวกำหนดอายุการเก็บของอาหาร
-
เทคโนโลยี AI ในวงการอุตสาหกรรมอาหาร
กรณีศึกษา: เทคโนโลยีAI สำหรับตรวจติดตามการล้างมือ เพื่อรักษามาตรฐาน HACCP
-
การจัดการสัตว์รบกวนในอุตสาหกรรมอาหาร
สัตว์รบกวนเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่สำหรับการควบคุมสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร เนื่องจากก่อให้เกิดความเสียหายหลายประการ อาทิ วัตถุดิบหรืออุปกรณ์เกิดความเสียหายหรือสกปรกจากการกัดแทะ ถ่ายมูลรด ทำให้ขยะกระจัดกระจาย, การปนเปื้อนตัวสัตว์หรือชิ้นส่วนของสัตว์ (เช่น ขนสุนัข แมว หรือหนู ปีกแมลง ขาแมลง) สารคัดหลั่งหรือมูลลงในอาหาร, การเป็นพาหะนำเชื้อก่อโรค พยาธิและจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย และสารก่อภูมิแพ้ เป็นต้น การนำเข้าสัตว์เหล่านี้สู่พื้นที่ภายในโรงงาน อาจเกิดจากการปะปนมากับวัตถุดิบ เช่น ไข่มอดในธัญพืช แมลงหวี่ในผักผลไม้, การติดตัวพนักงาน เช่นการเหยียบซากแมลงติดเข้าไป และไม่มีการเปลี่ยนหรือทำความสะอาดรองเท้าที่เหมาะสม, การเข้าออกด้วยตัวสัตว์เอง ขณะประตูเปิดเข้าออก, ตามช่องเปิด รูรั่ว ท่อระบายน้ำ หรือทางอากาศ เช่น แมลงบิน หรือการถ่ายมูลของนก เป็นต้น
-
ความมั่นคงทางอาหาร
ปัญหาขาดแคลนอาหารนั้นถือเป็นปัญหาใหญ่ของโลกที่มีมาเป็นเวลานาน โดยในปีพ.ศ. 2539 ณ การประชุมสุดยอดอาหารโลก (World Food Summit) ได้มีการพูดถึงปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหาร (Food security) ซึ่งหมายถึง การมี และการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการที่ตรงต่อความต้องการและความพึงพอใจด้านอาหารอย่างเท่าเทียมสำหรับทุกคน เพื่อชีวิตและสุขภาพที่ดี (FAO, 2008) และปัญหานี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤติต่างๆ เช่น ภัยพิบัติ สงคราม หรือโรคระบาด ดังนั้นในบทความนี้จะพูดถึงความมั่นคงทางอาหารใน 4 องค์ประกอบสำคัญ สถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการทั่วในระดับสากล ปัจจัยที่สำคัญ รวมถึงข้อเสนอแนะต่อการปัญหาอย่างยั่งยืน
-
ผลกระทบของโรคระบาดต่อวงการอุตสาหกรรมอาหาร
เป็นเวลามากกว่า 2 ปีแล้วที่โรคระบาดได้เริ่มการระบาดขึ้นทั่วโลก ในปัจจุบันมีผู้ป่วย และเสียชีวิตมากกว่า 6 ล้านราย (World Health Organization, n.d.-b) อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงความปลอดภัยของอาหารและบรรจุภัณฑ์ต่อการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส ผลกระทบของโรคระบาดต่ออุตสาหกรรมอาหาร วิกฤตความมั่นคงทางอาหาร และแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
-
เปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ยุคดิจิตอลด้วยเทคโนโลยีอ่านอักขระด้วยแสง (OCR)
การอ่านอักขระด้วยแสงหรือที่รู้จักกันในชื่อ เทคโนโลยี OCR (Optical Character Recognition) คือการใช้เทคโนโลยีในการแยกแยะตัวอักษรจากภาพถ่ายดิจิตอล เช่น ภาพแสกนเอกสาร ภาพพิมพ์บนวัสดุต่าง ๆ โดยระบบจะประกอบด้วยส่วนฮาร์ดแวร์สำหรับรับภาพ เช่น กล้องหรือแสกนเนอร์ และซอฟท์แวร์สำหรับตรวจจับตัวอักษร